พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย

  1. ดำเนินการตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ
  2. ส่งเสริม พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีการปศุสัตว์ เพื่อเพิ่มผลิตภาพและมูลค่าเพิ่ม
  3. บริหารจัดการด้านกระบวนการผลิตสัตว์และสินค้าปศุสัตว์ ให้มีคุณภาพ ให้มาตรฐาน
  4. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐตามแนว PMQA

 

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพังงา มีหน้าที่รับผิดชอบดังนี้

  1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรค ระบาดสัตว์ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมควบคุมการบำบัดโรคสัตว์ กฎหมายว่าด้วยการบำรุงพันธุ์สัตว์ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ กฎหมายว่าด้วยสถาน พยาบาลสัตว์ กฎหมายว่าด้วยโรคพิษสุนัขบ้า และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
  2. ดำเนินการผลิตและจัดหาชีวภัณฑ์และ เวชภัณฑ์ เพื่อใช้ในการป้องกันและกำจัดโรคสัตว์ ตลอดจน ผลิตและจัดหาน้ำเชื้อเพื่อใช้ในการผสมเทียม
  3. ดำเนินการด้านปรับปรุงและขยายพันธุ์สัตว์ ด้านสุขภาพสัตว์ และด้านบำบัดโรคสัตว์ ตลอดจนการ แปรรูปเนื้อสัตว์เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
  4. ส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเลี้ยงสัตว์ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ
  5. ควบคุมคุณภาพเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์ และผลิตผลจากสัตว์เพื่อให้ได้มาตรฐานสากล
  6. ปฏิบัติงานอื่นใด ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือ คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

ทั้งนี้ ปศุสัตว์จังหวัดจันทบุรีปฏิบัติภารกิจภายใต้พระราชบัญญัติ จำนวน 6 ฉบับ คือ

พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2535

พระราชบัญญัติสถานพยาบาลสัตว์ พ.ศ.2533

พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535

พระราชบัญญัติบำรุงพันธุ์สัตว์ พ.ศ. 2509

และร่วมปฏิบัติภารกิจภายใต้พระราชบัญญัติ จำนวน 2 ฉบับ คือ

พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522

 ฝ่ายบริหารทั่วไป
  1. ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณและงานธุรการทั่วไป
  2. ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการเงินการบัญชี วัสดุ ครุภัณฑ์ การบริหารงานบุคคล งานติดต่อประสานงานและงานสถิติข้อมูล
  3. ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำแผนงานงบประมาณ และเร่งรัดติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
  4. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องและตามที่ได้รับมอบหมาย
 กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศการพัฒนาปศุสัตว์
 
  1. ศึกษา วิเคราะห์จัดทำแผนยุทธศาสตร์/โครงการ และงบประมาณด้านการพัฒนาปศุสัตว์ให้บูรณาการสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ จังหวัด/กลุ่มจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  2. นิเทศ ติดตาม การปฏิบัติงานตามแผนงาน/โครงการ และงบประมาณของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ เพื่อพัฒนาศักยภาพให้กับบุคลากรผู้ปฏิบัติ
  3. จัดทำแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคล ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร
  4. บริหารจัดการระบบสารสนเทศและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านปศุสัตว์
  5. ติดตาม ตรวจสอบและดำเนินการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านปศุสัตว์
  6. ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย
 กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีการปศุสัตว์
  1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนา และประยุกต์เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ ผลิตภัณฑ์สัตว์ ์แนวทางการแก้ไข ปัญหาการผลิตสัตว์ให้เหมาะสมที่จะนำไปปฏิบัติในพื้นที่
  2. วิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ จัดระบบเขตเศรษฐกิจด้านการปศุสัตว์ระบบการตลาดปศุสัตว์จัดตั้งศูนย์ข้อมูล การพัฒนา เทคโนโลยีการปศุสัตว์ประยุกต์
  3. กำหนดกลยุทธ์ มาตรการแผนและแนวทางการปฏิบัติงานถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปสู่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย และองค์กรที่เกี่ยวข้อง และให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับระบบการพัฒนาปศุสัตว์
  4. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการบำรุงพันธุ์สัตว์ การควบคุมคุณภาพ อาหารสัตว์ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  5. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และตามที่ได้รับมอบหมาย
 กลุ่มพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์
  1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ยาสัตว์ อาหาร และกฎหมายอื่น ตามที่ได้รับมอบอำนาจ
  2. ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาฟาร์มให้เป็นไปตามมาตรฐานฟาร์มหลักสวัสดิภาพ สัตว์และ พัฒนาคุณภาพสินค้า ปศุสัตว์ตรวจสอบติดตามรักษามาตรฐานฟาร์มที่ผ่านการรับรอง ควบคุม และสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านมาตรฐานฟาร์ม และสินค้าปศุสัตว์แก่ศูนย์ปฏิบัติการปศุสัตว์
  3. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ ์ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องและตามที่ได้รับมอบหมาย
  4. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และตามที่ได้รับมอบหมาย
 กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์
  1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ การควบคุมการบำบัดโรคสัตว์ สถานพยาบาลสัตว์ โรคพิษสุนัขบ้า และกฎหมายอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบอำนาจ
  2. ดำเนินการจัดทำแผนและปฏิบัติงานทางวิชาการด้าน สุขศาสตร์สัตว์ ด้านวิทยาการสืบพันธุ์ การรักษาพยาบาลสัตว์ ที่ซับซ้อนและการชันสูตรทางห้องปฏิบัติการรวมทั้งสนับสนุนทางวิชาการแก่ ศูนย์ปฏิบัติการปศุสัตว์
  3. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสุขภาพสัตว์
  4. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และตามที่ได้รับมอบหมาย
 ศูนย์ปฏิบัติการปศุสัตว์ (ปศุสัตว์อำเภอ)
  1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ การควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ โรคพิษสุนัขบ้า และกฎหมายที่เกี่ยว ข้องในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
  2. ดำเนินการเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ สุขอนามัย สิ่งแวดล้อมการปศุสัตว์ รักษาพยาบาลสัตว์ และคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ใน พื้นที่ที่รับผิดชอบ
  3. ดำเนินการเกี่ยวกับงานวิชาการ การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการปศุสัตว์ โครงการพิเศษอื่นๆ แนะนำมาตรฐานฟาร์มปศุสัตว์จัดเก็บรวบรวมข้อมูลการปศุสัตว์ และสาธิตการปลูกพืชอาหารสัตว์ ์ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
  4. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และตามที่ได้รับมอบหมาย